Mandala Analytics เครื่องมือที่น่าสนใจของ Digital Marketing ในโลก Big Data ตอนที่ 2

News

Mandala Analytics เครื่องมือที่น่าสนใจของ Digital Marketing ในโลก Big Data ตอนที่ 2 หลังจากครั้งที่แล้ว เราทราบไปแล้วว่า Mandala Analytics คืออะไร มี Feature อะไรบ้าง และเราเห็นภาพรวมของข้อมูล กันไปกันแล้วนะครับ ตอนที่ 2 จะพาทุกท่านไปทำความรู้จัก Mandala Analytics ให้มากยิ่งขึ้นไปอีกนะครับ เพื่อไม่เป็นการเสียเวลาไปมากกว่านี้ ผมจะพาไปดู Feature อื่นๆ ดังนี้นะครับ

หัวข้อที่ 2 Keywords กับ Hashtags ที่เกี่ยวกับยี่ห้อโทรศัพท์มือถือ

ผมว่า Feature นี้ของ Mandala Analytics เป็นประโยชน์มากครับ ทั้งในการติดตามแบรนด์ของเรา รวมไปถึงการติดตามความเคลื่อนไหวของแบรนด์คู่แข่งว่า มีคนให้ความสนใจมากน้อยเพียงใด จากตัวอย่างจะเห็นว่า การเปิดตัวโทรศัพท์มือถือรุ่นใหม่มีผลต่อการ mention ต่อยี่ห้อโทรศัพท์มือถือเป็นอย่างมาก ยิ่งเห็นได้ชัดคือ การเปิดตัวมือถือ iPhone 12 ในวันที่ 14 ตุลาคม (เวลาประเทศไทย) และวันที่ 1 พฤศจิกายน เป็นวันที่ราคาจำหน่าย iPhone 12 ในประเทศไทย เปิดตัวอย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ Mandala Analytics ยังแบ่งร้อยละของ ยี่ห้อโทรศัพท์มือถือออกมาให้เราเห็นว่ามีการ Mention เท่าไหร่

รวมถึง word cloud ว่า คนให้ความสำคัญกับอะไรที่เกี่ยวกับโทรศัพท์มือถือ ซึ่งผลที่ออกมาก็คงไม่น่าแปลกใจสักเท่าไหร่ เพราะคนไทยคงพูดถึง ราคา iPhone ว่าหากจำหน่ายในประเทศไทยแล้วจะมีจำนวนเท่าไหร่

แต่เมื่อเรามาดู Hashtag แล้วพบว่า กลับเป็นยี่ห้อโทรศัพท์มือถือเจ้าอื่นในตลาด ซึ่งมีความสัมพันธ์กับจำนวนยอดจำหน่ายโทรศัพท์มือถือในประเทศไทย

หัวข้อที่ 3 Top Mention ที่มีการกล่าวถึงยี่ห้อโทรศัพท์มือถือ

Mandala Analytics ยังทำให้เรารู้สึกประหลาดใจขึ้นไปอีก ลองจินตนาการว่า เรามีงบประมาณในการทำการตลาดในเครือข่ายสังคมออนไลน์ เราจะรู้ได้อย่างไรว่า เงินที่เราลงไปจะคุ้มค่าต่อการรับรู้แบรนด์ของเราที่ลงไปแค่ไหน แล้ว Influencer ที่เราเลือก เข้าถึงกลุ่มลูกค้าของเรามากแค่ไหน Feature นี้จะทำการดึงข้อมูลมาแสดงให้เราดูว่า Top 10 ของแต่เครือข่ายสังคมออนไลน์ เป็นอย่างไร จากข้อมูลที่ผมนำมาให้ดูจะเห็นได้ว่า Oppo ทำการตลาดได้ดีกับ Facebook และ YouTube ส่วน iPhone เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ดีผ่าน Twitter ในขณะที่ Vivo ใช้ความโด่งดังของดาราวัยรุ่นผ่าน Instagram เข้าถึงวัยรุ่นที่เป็นแฟนคลับได้เป็นจำนวนมาก

หัวข้อที่ 4 ความเคลื่อนไหวของข้อมูล Date และ Time

เมื่อเรารู้แล้วช่องทางไหนจะเข้าถึงกลุ่มลูกค้าของเราได้มากที่สุด วันและเวลาก็นับว่าเป็นปัจจัยที่จะทำให้เราเข้าถึงลูกค้าของเราเป็นอย่างมาก เช่น หากเราต้องการขายเจลล้างหน้าชาย กลุ่มลูกค้าชายจะใช้เวลาอยู่กับเครือข่ายสังคมออนไลน์ ช่วงเวลาและวันไหน เราก็ใช้ข้อมูลนี้ให้เป็นประโยชน์ในการลงโพสต์ในช่วงเวลานั้น กลุ่มลูกค้าชายก็จะเข้าถึงเจลล้างหน้าของเราได้มากที่สุด เปรียบเทียบให้เห็นภาพ หากเรารู้ว่า “ปลาที่เราจะจับ ชุกชุมจุดไหน เวลากี่โมง วันอะไร” เราก็สามารถเตรียมเครื่องมือไปจับปลาได้จำนวนมาก

รูปแรก คนไทยมีการ Mention ที่ถี่มากในช่วงเวลา เที่ยงคืน 10 โมงเช้าถึงเที่ยง และ ห้าโมงเย็นถึงหนึ่งทุ่ม ทำให้เราพอจะคาดคะเนว่า คนไทยจะมีการเข้าถึงเครือข่ายสังคมออนไลน์ก่อนนอน และอีกครั้งก่อนรับประทานอาหารเที่ยง และเมื่อเลิกงาน เลิกเรียน หรืออาจจะเป็นเวลารับประทานอาหารเย็น

ตอนที่ 2 ขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อนนะครับ เดี๋ยวเราค่อยมาต่อกันตอนที่ 3 ซึ่งผมคิดว่าน่าจะเป็นตอนจบของเรื่อง Mandala Analytics แล้วนะครับ

ส่วนตอนนี้ Mandala Analytics จะแสดงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการทำ content เชิงการตลาดที่จะต้องใส่ Keywords กับ Hashtags ที่กำลังเป็นกระแส หรือ การเขียนเนื้อหาที่สามารถค้นหาได้ง่าย ก็จะทำให้ผู้บริโภคสามารถค้นหาข้อมูลมาสู่เนื้อหาของเราได้ง่าย ยิ่งไปกว่านั้น Top Mention จะทำให้เราสามารถทำ Media Planning ในแต่ละเครือข่ายสังคมออนไลน์ให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายของเราได้ตรงจุด ไม่เสียเวลา รวมไปถึงการมีข้อมูลเพื่อช่วยประกอบการตัดสินใจมากกว่าการใช้อารมณ์พาไป เหนือสิ่งอื่นใดคือการที่เราสามารถติดตามความเคลื่อนไหวของข้อมูลในวัน (Date) และเวลา (Time) ที่เราต้องการทราบได้ ว่า เพศชายหรือหญิงใช้เวลาอยู่ในเครือข่ายสังคมออนไลน์ใด ในวันและเวลาใดบ้าง การยิ่งโฆษณาที่ตรงถูกทั้งวันและเวลาที่เหมาะสม ย่อมทำให้เราเข้าใกล้ความสำเร็จมากขึ้น