Big Data คืออะไร สำคัญอย่างไร

News

Big Data คืออะไร สำคัญอย่างไร เชื่อว่าหลายคนคงเคยได้ยินคำว่า Big Data มาก่อน แต่ไม่รู้ว่าคืออะไร แล้วคุณเคยสงสัยไหมว่า Big Data แท้จริงแล้วมันคืออะไรกันแน่ Big data มีกระบวนการทำงานอย่างไร และมีประโยชน์หรือมีความสำคัญหรือไม่ สำหรับใครที่กำลังหาข้อมูลในด้านนี้อยู่ วันนี้ mandala analytics จะเล่าให้ฟัง

เนื้อหาของบทความ :

Mandala Analytics คืออะไร
บิ๊กดาต้า (Big Data)
Big Data คือ จำนวนข้อมูลในรูปแบบต่างๆ ที่มีมากมายมหาศาล ชนิดที่เรียกว่าชอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ธรรมดานั้นไม่สามารถรองรับข้อมูลเหล่านี้ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วข้อมูลเหล่านี้มักจะถูกใช้ในเชิงธุรกิจเป็นข้อมูลที่ถูกเก็บไว้ในองค์กร หรือบริษัท เช่น ข้อมูลบริษัท ข้อมูลสำคัญของลูกค้า วิดีโอ ไฟล์รูปภาพ หรือไฟล์เอกสารต่างๆ ฯลฯ เป็นต้น

Big data

คุณลักษณะของ Big data (5V) มีดังต่อไปนี้

มีปริมาณมาก (Volume) : อย่างที่ได้กล่าวไปแล้วในข้างต้นว่า Big Data เป็นข้อมูลที่มีขนาดใหญ่หรือเป็นข้อมูลที่มีปริมาณมากมายมหาศาลไม่ว่าจะอยู่ในรูปแบบออนไลน์หรือออฟไลน์ โดยข้อมูลเหล่านี้จะมีปริมาณมากกว่าหน่วย TB (Terabyte) ขึ้นไป

มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว (Velocity) : เนื่องจากข้อมูล Big data มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง ชนิดที่เรียกว่า Real Time จึงทำให้สามารถวิเคราะห์ง่ายๆ แบบ Manual ได้แต่ไม่สามารถจับทิศทางหรือรูปแบบที่ชัดเจน หรือตายตัวของข้อมูลเหล่านั้นได้

หลากหลายประเภทหรือแหล่งที่มา (Variety) : ข้อมูลมีรูปแบบที่แตกต่างกันออกไป ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลที่เป็นไฟล์ภาพรูปภาพ ตัวอักษร หรือวีดีโอ ฯลฯ ในขณะเดียวกันก็มีที่มาที่หลากหลายไม่ว่าจะเป็น Platform, e-commerce, Social Network เป็นต้น

ยังไม่ผ่านการประมวลผล (Veracity) : หาก Big Data นั้นไม่ผ่าน process หรือแปลงให้อยู่ในรูปแบบของข้อมูลดิบ (Raw Data) ก็จะไม่สามารถใช้งานหรือใช้ประโยชน์ต่อองค์กรหรือบริษัทได้

ข้อมูลที่แปรผันได้ (Variability) : ข้อมูล Big Data ที่มีการเปลี่ยนเเปลงอย่างรวดเร็วตามรูปเเบบการใช้งาน และรูปแบบของการจัดเก็บข้อมูลก็จะเเตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับเเหล่งข้อมูลที่เก็บมา

การจะใช้ประโยชน์จาก Big Data ได้นั้น มีอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญนั่นก็คือความเชื่อมโยงกันของข้อมูล หากสิ่งที่รวบรวมมานั้นไม่สามารถหาจุดเชื่อมโยงกันได้ ข้อมูลเหล่านั้นก็ไร้ประโยชน์ การเก็บ Data ที่มีประสิทธิภาพนั้นจึงต้องคำนึงถึงความสัมพันธ์กันของข้อมูลด้วย

ย้อนกลับไปในอดีต หากจะพูดถึงประวัติและความเป็นมาของ Big Data ซึ่งความจริงแล้ว Big Data นั้นถือว่ายังเป็นเรื่องที่ใหม่และเพิ่งเริ่มต้นทำกันได้เมื่อไม่นานมานี้เอง เมื่อประมาณปี 2005 กระแส Social Network ไม่ว่าจะเป็น Facebook Twitter IG ตลอดจนสื่อสังคมออนไลน์ในรูปแบบอื่นๆ กำลังเป็นที่นิยมอย่างมากในขณะนั้นทำให้มีการตระหนักที่จะจัดหาข้อมูลขนาดใหญ่สร้างขึ้นมาเพื่อรองรับความต้องการเหล่านี้

Big Data นั้นนอกจากจะลองรับสื่อสังคม Social ต่างๆ แล้วยังใช้ในทางธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเก็บข้อมูลของลูกค้า ข้อมูลเหล่านี้ถือว่าเป็นขุมทรัพย์ที่ล้ำค่ามากๆ เพราะในสภาวะการแข่งขันทางการค้าในปัจจุบันที่ร้อนแรงความสามารถในการตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่ตรงจุด จะทำให้ธุรกิจอยู่เหนือคู่แข่งในทุกๆด้าน ในมุมของเว็บไซต์ หรือสังคมออนไลน์ต่างๆ Big Data จะเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์หรือการใช้แอพพลิเคชั่น ตลอดจนข้อมูลการสนทนาผ่านสื่อต่างๆ เพื่อนำไปปรับปรุงและสื่อสารกับลูกค้าเป็นการเพิ่มมูลค่าใหธุรกิจและเป็นการแก้ไขปัญหาเชิงรุกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

Big Data มีกระบวนการในทำงานอย่างไร

หลายคนอาจจะสงสัยว่า Big Data ที่มีข้อมูลมากมายมหาศาลเช่นนี้ จะมีวิธีการหรือกระบวนการในการทำงานอย่างไร โดย Big Data ประกอบไปด้วย 3 ขั้นตอนสำคัญดังต่อไปนี้

การรวบรวมข้อมูล

การรวบรวมข้อมูล Big Data ทำหน้าที่ในการรวบรวมข้อมูลที่หลากหลายและข้อมูลที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมนั้นไม่สามารถทำได้ โดย Big Data สามารถเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่และรวบรวมข้อมูลได้มากมายมหาศาลในรูปแบบของเทราไบต์ หรือบางครั้งอาจเก็บข้อมูลในระดับเพธาไบต์เลยก็ว่าได้

การจัดการข้อมูล

ข้อมูลที่มากมายมหาศาลหรือ Big Data จะต้องทำการจัดเก็บข้อมูลขนาดใหญ่ หรือหาแหล่งที่อยู่ให้มันยกตัวอย่างเช่น on premises หรือ cloud ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการหรือความสะดวกในการใช้งาน แต่ในบางกรณีอาจจะต้องจัดเก็บข้อมูลไว้ใกล้กับแหล่งข้อมูลที่มีความยืดหยุ่นสูง

การวิเคราะห์

Big Data อาจจะต้องใช้เงินลงทุนที่สูงในการสร้างข้อมูลขนาดใหญ่ แต่ทั้งนี้จะไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อะไรเลย หากคุณไม่นำข้อมมูลเหล่านั้นมาใช้วิเคราะห์ เพื่อทำให้เกิดความกระจ่างและชัดเจนของชุดข้อมูลที่มีอยู่ โดยส่วนใหญ่จะใช้ AI ในการวิเคราะห์ด้วยการสร้างรูปแบบจำลองของข้อมูล เพื่อนำข้อมูลเหล่านั้นมามาข้อสรุป พัฒนา และต่อยอดให้เกิดประโยชน์สูงสุด

ในปัจุบัน Big Data ถือว่ามีความสำคัญมากๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการนำข้อมูลเหล่านี้ไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อองค์กร ซึ่งการวิเคราะห์ข้อมูลและผลลัพธ์ที่ได้จะช่วยให้สามารถเข้าใจหรือถึงผู้บริโภคได้มากยิ่งขึ้นเป็นการลดต้นทุน ลดระยะเวลาในการดำเนินการหรือวางแผนกลยุทธ์ด้านการตลาด สำหรับในปัจจุบันเครื่องมือที่ใช้รองรับ Big Data ในแบบที่เราเข้าใจได้ง่ายๆ มีให้เห็นอยู่หลากหลาย ยกตัวอย่างเช่น Google analysis หรือระบบ ERP เป็นต้น

Big data

ไม่เว้นแม้แต่บริษัทอีคอมเมิร์ซชื่อดังของโลกหลายแห่งมีการใช้ Big data เพื่อแนะนำสินค้าแบบ Real Time โดยอัตโนมัติหรือคุณเคยสังเกตไหมว่าเวลาที่คุณอยากได้สินค้าชนิดใดชนิดหนึ่ง เมื่อไหร่ก็ตามที่คุณเข้าไปหาข้อมูลสินค้าชนิดนั้นใน Google หรือจากแหล่งต่างๆ เมื่อเวลาผ่านไปจะมีสินค้าที่คุณต้องการนั้นปรากฏให้เห็นในโฆษณาหน้าเพจเฟสบุ๊ค โซเชียลอื่นๆ หรือตามเว็บไซต์ต่างๆ โดยโฆษณาสินค้านั้นก็คือ Big Data ข้อมูลขนาดใหญ่ที่ได้เก็บรวบรวมความต้องการของคุณไว้เป็นที่เรียบแล้ว และมันจะปรากฏให้คุณเห็นบ่อยๆ เพื่อล่อตาล่อใจ จนคุณเผลอกดเข้าไปสั่งซื้อสินค้าชนิดนั้น

การใช้งาน Big Data นั้น ไม่ใช่เรื่องง่าย ปัจจุบันถ้าเป็นข้อมูลภายในองค์กรของคุณที่มีเก็บไว้อยู่แล้ว คุณสามารถใช้เครื่องมือที่มีอยู่แล้วในท้องตลาดทั่วไป เช่น ERP เข้ามาจัดการได้ไม่ยาก แต่การจะทำให้องค์กรของคุณทราบความต้องการของตลาด รวมถึงสามารถวิเคราะห์ความต้องการของผู้บริโภค เพื่อให้สามารถผลิต Content ทางการตลาด สามารถทำ SEO หรือทำ Social Marketing ให้ออกมาดีได้นั้น คุณจำเป็นต้องอาศัยเครื่องมือประเภท Social Listening Tools เข้ามาช่วย ซึ่ง Social Listening Tools สามารถช่วยให้คุณเข้าถึงความต้องการของผู้คนบนโลกออนไลน์ ช่วยให้คุณวิเคราะห์ข้อมูลบน Social Platform ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นการวิเคราะห์ช่วงเวลาในการโพส การวิเคราะห์ข้อมูลในเชิงบวก เชิงลบ แม้กระทั่งทำให้ทราบว่า Content ที่ดีที่สามารถเรียก Engagement ของผู้คนบนโลกออนไลน์นั้นเป็นอย่างไร นับว่า Social Listening Tools มีประโยชน์ในการวิเคราะห์ข้อมูล Big Data ไม่น้อยเลยทีเดียว