สรรพคุณของสารสกัดกระชายขาว

News

สรรพคุณของสารสกัดกระชายขาว กระชายขาวเป็นสมุนไพรภูมิปัญญาพื้นบ้านที่นำมาใช้ประโยชน์ได้หลายส่วน ไม่ว่าจะเป็นเหง้า, ราก, ใบ นิยมนำมาต้มดื่มเพื่อรักษาอาการเจ็บป่วย โดยใส่มะนาว หรือน้ำผึ้งเพิ่มเติมลงไป เพื่อลดความขมของเหง้ากระชายขาวสด บ้างก็นำมาบดทำเป็นยาในทางแพทย์แผนไทย โดยมีสรรพคุณสร้างภูมิคุ้มกัน รวมถึงช่วยบรรเทาอาการต่างๆ

กระชาย มีชื่อสามัญว่า Fingerroot, Chinese ginger, Chinese keys, Galingale // ชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. จัดอยู่ในวงศ์ขิง (ZINGIBERACEAE)

1. น้ำกระชายปั่น ดื่มเพื่อเพิ่มความสดชื่น บำรุงร่างกาย ช่วยทำให้ร่างกายกระปรี้กระเปร่ายิ่งขึ้น ทำให้เหนื่อยลง

2. ช่วยแก้ลมวิงเวียน แน่นหน้าอก บำรุงกำลัง เสริมสมรรถภาพทางเพศ

3. ช่วยทำให้เส้นผมแข็งแรงสุขภาพดี เปลี่ยนผมขาวให้กลับเป็นดำ ช่วยทำให้ผมบางกลับมาหนาขึ้น อีกทั้งยังช่วยแก้ปัญหาผมหงอก ผมร่วงได้

4. รากนำมาใช้เป็นเครื่องแกงในการประกอบอาหารแล้ว ยังช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อและปลาได้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะอย่างยิ่งปลาดุก ปลาไหล ปลากุลา เป็นต้น

5. รากกระชายสามารถช่วยไล่แมลงได้ ด้วยการนำตะไคร้ ข่า หอมแดง ใบสะเดาแก่ นำมาตำผสมกัน แล้วใช้ผสมกับน้ำฉีดในบริเวณที่มีแมลงรบกวน

6. งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยเชียงใหม่ร่วมกับมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ศึกษาแล้วพบว่า สารสกัดจากกระชายสามารถช่วยต้านการเสื่อมของกระดูกอ่อนในหลอดทดลองได้ และได้ผลเป็นที่น่าพอใจ

7. งานวิจัยของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์พบว่า สารสกัดคลอโรฟอร์มและเมทานอลจากรากของกระชายมีฤทธิ์ในการต้านการเจริญเติบโตของเชื้อ Giardia intestinalis ซึ่งเป็นพยาธิเซลล์เดียวในลำไส้ที่ก่อให้เกิดภาวะท้องเสีย ซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างมากสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง

8. กินแล้วดีต่อสมอง เพราะมีคุณสมบัติช่วยบำรุงสมอง ช่วยทำให้เลือดไปเลี้ยงสมองส่วนกลางได้ดีมากขึ้น

9. กระชายเมื่อกินเข้าไปแล้ว สามารถช่วยปรับสมดุลของฮอร์โมนต่าง ๆ ในร่างกายได้ดี

10. งานวิจัยของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพบว่าสาร Pinostrobin, Pinocembrin, Panduratin A และ Alpinetin ของกระชายนั้นมีฤทธิ์ต้านแบคทีเรียได้หลายชนิด

11. ลดน้ำหนักได้ จากการศึกษาวิจัยในประเทศเกาหลีใต้พบว่า การรับประทานกระชายวันละ 300 – 600 มิลลิกรัม จะมีรอบเอวและไขมันต่ำลดลงภายใน 12 สัปดาห์

12. ช่วยป้องกันไทรอยด์เป็นพิษ แก้โรคในปาก เช่น ปากแห้ง ปากเปื่อย เป็นต้น